Friday, December 18, 2009

เอาท์ซอร์ส โซเชียลเว็บแรง ดันวิชั่นซีไอโอเปลี่ยน

thin client

ถ้าเปรียบธุรกิจเหมือนเกมแข่งขัน วันนี้กฏ กติกา รวมถึงผู้เล่นได้เปลี่ยนไปแล้ว ถึงยุคที่ซีอีโอ และซีไอโอต้องหันมาทบทวนโครงสร้างธุรกิจใหม่ การบริหารธุรกิจยุคปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย จะคิดแต่เพียงว่า มีเงินทุนอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะ "ซีอีโอ" ยุคนี้ต้องเผชิญกับปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน ทั้งควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ ยิ่งในตลาดเกิดใหม่ที่ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศกำลังพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีด้วยแล้ว ยิ่งต้อง "คิดหนัก"

ขณะที่ "เครื่องมือช่วย" สำคัญ ทั่วโลกต่างพูดถึงคือการนำไอทีเข้าไปใช้ในองค์กร กลายเป็นสิ่งที่ "ซีอีโอ" ทุกธุรกิจโหยหา นั่นจึงทำให้ตำแหน่ง "ซีไอโอ" หรือ Chief Information Officer ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง กลายเป็น "มือขวา" ที่ขาดไม่ได้ของ "ซีอีโอ" ยุคนี้

"แพทริก ชาน" หัวหน้าที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี ไอดีซี เอเชีย แปซิฟิก อิเมิร์จจิ้ง เทคโนโลยี เล่าให้ฟังหลังงานสัมมนาซีไอโอ ซัมมิต 2009 ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ว่า ถ้าเปรียบธุรกิจทั่วโลกเป็นเหมือน "เกมแข่งขัน" วันนี้กฏ กติกา รวมถึงผู้เล่นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ถึงยุคที่ซีอีโอ และซีไอโอต้องหันมาทบทวนโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะฝั่งของการขับเคลื่อนระบบไอทีภายในองค์กร

ซีไอโอจีน ฮ่องกงสุดแอคทีฟ
ไอดีซี ได้สำรวจ "ซีไอโอ เอเชีย" กว่า 250 คน จาก 9 ประเทศทั่วเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย พบว่า แม้เศรษฐกิจทั่วโลกจะยังอยู่ในช่วงขาลง แต่ซีไอโอยังคงให้ความสำคัญในการลงทุนด้านไอทีอย่างต่อเนื่อง

"ผลสำรวจซีไอโอใน ฮ่องกงกว่า 60% กำลังลุกขึ้นมาเปลี่ยนระบบไอที ด้วยการนำเอาเอาท์ซอร์สเข้ามาประยุกต์ใช้ มีแค่ 21% เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย ชี้ให้เห็นว่า ฮ่องกงกำลังเปิดรับรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง และซอฟต์แวร์ คือ บริการ (Software as a Service) เช่นเดียวกับในจีน กว่า 56% ของซีไอโอ ต่างมีแผนนำเอาท์ซอร์สไปใช้ในธุรกิจเช่นกัน และกว่า 43% ของซีไอโอในจีนก็หันมาให้ความสนใจการอัพเกรดแผนงานไอทีในองค์กรเพิ่มมากขึ้นด้วย"

ผลสำรวจ ยังพบด้วยว่า ซีไอโอส่วนใหญ่ หันมาเน้นการนำไอทีไปปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ การหันไปครีเอทกลยุทธ์บริการใหม่ๆ

ขณะที่ยุคเศรษฐกิจขาลง สิ่งจำเป็นที่ซีไอโอ บอกว่า ต้องทำ คือ การทบทวนบริการด้านไอที การวางแผนด้านต้นทุน รวมถึงหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานไอที

ซีไอโอเอเชียใช้ไอทีฟื้นธุรกิจ
ด้านภาพรวมของ "ซีไอโอ" ทั่วภูมิภาคเอเชีย พบว่า กว่า 58.8% ยังหวังที่จะให้ไอทีเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างรายได้ และผลกำไรในอนาคต ขณะที่ 26.2% ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย และ16% เห็นว่ายังคงต้องให้ความสำคัญต่อการบำรุงรักษาระบบไอทีด้วย

"ซีไอโอ ในเอเชียยังมีแนวคิดไอทีไปข้างหน้าอยู่ตลอด แม้สภาพเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญ ที่ทำให้การตัดสินใจของซีไอโอในการลงทุนด้านไอทีไม่ง่ายเหมือนในอดีต" ชาน ให้ความเห็น

ขณะที่ "ซีไอโอ" ของประเทศในเอเชียที่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำในระดับภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง จีน สิงค์โปร์ รวมอินเดีย ที่แม้ประเทศหลังจะไม่ได้มีการสำรวจครอบคลุม แต่เห็นได้ชัดว่า อินเดีย มีจุดเด่นเรื่องการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในภาคธุรกิจที่เห็นผลได้ชัด โดยเฉพาะภาคการสื่อสารโทรคมนาคม

"ออสเตรเลีย มีการนำเอาเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเข้าไปใช้ในเชิงธุรกิจ รวมถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดซอฟต์แวร์ คือ บริการ (Software as a service) และมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีดังกล่าวเพิ่มขึ้นในประเทศหลายราย ขณะที่ประเทศจีน ผลสำรวจซีไอโอกว่า 55% วางแผนที่จะนำแนวคิดเอาท์ซอร์สเข้าไปใช้ในธุรกิจกำหนดอยู่ในแผนงานขององค์กรอย่างชัดเจน"

เอาท์ซอร์สเทคฯ เด่น
ส่วนซีไอโอในประเทศไทยอยู่ในระดับท็อป 20 ของภูมิภาค เพราะที่ผ่านมา ซีไอโอใน ไทยจะมั่งเน้นไปที่การบำรุงรักษาระบบไอทีภายในองค์กรมากกว่าการให้ความสำคัญ ต่อการนำเอาระบบไอทีไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดผลกำไรทางธุรกิจ

"จุดแข็งของซีไอโอในไทย คือ สามารถสร้างที่จะทำให้ระบบไอทีภายในองค์กร มีความโปร่งใส สามารถที่จะตรวจสอบได้ และเปิดกว้างในการรับเทคโนโลยี"

ผลสำรวจยัง ระบุด้วยว่า เทคโนโลยีเด่นที่ซีไอโอ ต้องการนำไปใช้ในองค์มากที่สุด คือ การเอาท์ซอร์ส โดยซีไอโอกว่า 60% เห็นว่า การเอาท์ซอร์สเทคโนโลยี จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ ซึ่งองค์กรจะสามารถหันมาให้ความสำคัญในการครีเอทสินค้า และบริการที่สามารถแข่งขันในด้านราคาได้เพิ่มมากขึ้น

ทั้งยังนำไป สู่การประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ อย่างคลาวด์คอมพิวติ้ง และซอฟต์แวร์ คือ บริการ ด้วย โดยปัจจุบันมูลค่าตลาดเอาท์ซอร์สในเอเชียมีมากกว่า 9 พันล้านดอลลลาร์

ซีไอโอหันเน้นโซเชียล เว็บ
พร้อมกันนี้ ซีไอโอ ยังต้องการที่จะใช้ "โซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้ง" ติดต่อสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้นด้วย เพราะถือเป็นช่องทางใหม่ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง และกำลังเป็นเทรนด์สำคัญที่ซีไอโอทั่วเอเชียให้ความสนใจ

"โซ เชียล เน็ตเวิร์คกิ้ง เป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงลูกค้า โดยการติชมสินค้า และบริการจะเกิดขึ้นในทันที กลายเป็นช่องทางธุรกิจได้รับฟีดแบ๊คกลับมาได้เร็วที่สุด เพราะทีผ่านมาลูกค้าแม้จะไม่ชื่นชอบในบริการ หรือสินค้า แต่ก็ไม่ค่อยนิยมจะติชมผ่านช่องทางเดิมๆ ที่องค์กรธุรกิจเปิดเอาไว้ให้ ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีที่เหมาะสมในยุคนี้จะต้องสามารถเข้าถึงความต้องการของพันธมิตร ธุรกิจ และลูกค้าที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก"

1 comments:

MRT IT Consult said...

พอจะเห็นหัวเห็นหางกันไหมครับ สำหรับซีไอโอไทยแลนด์แดนสยามที่ยังให้ความสำคัญต่อการบำรุงรักษาระบบไอทีอยู่ หลายบริษัทมีฝ่ายไอทีของตนเองแล้วงบบวมทุกปีทั้งค่าแรงและค่าซ่อม ในขณะที่ซีไอโอต่างชาติให้ความสำคัญต่อการลดต้นทุนทางด้านไอทีด้วย outsouce และมุ่งการลงทุนไปยังสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญมากกว่าเช่นการครีเอทสินค้าหรือการบริการใหม่ ๆ โดยที่สามารถมีไอทีใช้และยังควบคุมต้นทุนทางด้านไอทีได้อีกด้วย....

คิดอีกรอบนะครับ ว่าบริษัทของท่านต้นทุนทางด้านไอทีฉุดให้ไม่ได้รับโบนัสปีนี้หรือเปล่า........

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More