Friday, December 18, 2009

ปัดฝุ่นงบประมาณไอที สู่วิธีลดต้นทุนอย่างยั่งยืน

thin client
โดย : เอกรัตน์ สาธุธรรม

แม้ “การ์ทเนอร์” จะออกมาประเมินปลอบใจภาคธุรกิจว่า การใช้จ่ายทั่วไปของธุรกิจทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่าปี 2553 จะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย 2.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงจากที่ประเมินครั้งก่อน

ขณะที่ “ฟอเรสเตอร์” ประเมิน ว่า สหรัฐอเมริกา และประเทศชั้นนำในโลก ล้วนประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงกว่า และยาวนานกว่าที่หลายสำนักประเมินไว้ นั่นส่งผลให้ตลาดไอที เทคโนโลยี มียอดซื้อที่ "ตกต่ำ" อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เชื่อว่าอาจจะกินเวลานานไม่ต่ำกว่า 2-3 ไตรมาสนับจากนี้

แต่สิ่งที่สร้างความ "ตะลึง" ได้มากกว่า คือ การคาดการณ์ที่บอกว่า งบประมาณด้านไอทีจะ ถูกตัดลดลงถึง 20% ในธุรกิจบางประเภท ที่ถือเป็นการปรับลดครั้งแรกของโลก โดยเฉพาะกลุ่ม "ภาคการผลิต" หรือแมนูแฟคเจอริ่ง รวมถึงอีกหลายประเภทธุรกิจที่ในวันนี้มีแนวโน้มให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น และเป็นแนวโน้มเดียวกันที่กำลังเกิดขึ้นกับธุรกิจประเทศไทย

มีเพียง 2 กลุ่มธุรกิจเท่านั้น ที่ยังพอมีการลงทุนด้านไอทีอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ “ธนาคาร” และ “โทรคม”

“ความก้าวหน้าขั้นต่อไปในด้านไอที ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของการลดต้นทุน การบริหารความเสี่ยง และการยึดถือปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย” หัวหน้าฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ ว่าไว้

"นายออง วี เท็ค" พาร์ทเนอร์ กลุ่มธุรกิจที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีประจำภูมิภาคอาเซียน บริษัทแอคเซนเชอร์ ประจำสิงคโปร์ บอกว่า ยุคนี้ถือเป็นงานสุด “หิน” สำหรับ “ซีไอโอ” หรือผู้บริหารฝ่ายไอทีภายในองค์กร

เขา บอกว่า ซีไอโอยุคนี้ทำงานยากมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เพราะต้องทำหน้าที่จูงใจให้ "ซีเอฟโอ" หรือผู้บริหารฝ่ายการเงินได้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากจะใช้งบประมาณก้อนหนึ่งเพื่อนำมาลงทุนไอที อาจจะเพื่อลดต้นทุน หรือจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สิ่งที่ได้กลับมานั้น "ได้มาแน่นอนหรือเปล่า" ถ้าคุณตอบไม่ได้ก็ "อย่าหวัง"

การลดต้นทุนขององค์กรมักจะตกอยู่ในหน่วยงานไอทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุเพราะหน่วยงานไอทีนั้น เป็นทั้งศูนย์รวมต้นทุน ค่าใช้จ่าย และยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่ม หรือลดต้นทุนการทำธุรกิจ จึงไม่แปลกที่หน่วยงานด้านไอที จะกลายเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับมาตรการลดต้นทุนต่างๆ

“วี เท็ค” เสนอแนวคิดว่า การลดต้นทุนด้านไอทีอย่าง รวดเร็ว และยั่งยืน มาตรการเชิงรับดูจะ “ใช้ไม่ได้ผล” อีกต่อไป เพราะจัดทำขึ้นเพื่อตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งไม่ได้ส่งผลให้มีการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญได้อย่างแท้จริง

องค์กรธุรกิจควรหันมาพิจารณา 4 ปัจจัยหลักดังต่อไปนี้ หากคิดที่ควบคุมต้นทุนการทำธุรกิจในยุคที่เศรษฐกิจผันผวน ได้แก่ ความท้าทายธุรกิจ ต้องมั่นใจว่าการลงทุนด้านไอที จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านไอที ที่มุ่งลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย

“อย่างองค์กรบางแห่ง มีจำนวนเซิร์ฟเวอร์เยอะมาก ควรหันมาใช้เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นแทน หรือรวมเซิร์ฟเวอร์เข้าไว้ด้วยกัน”

ขณะที่ ต้องหันมาทบทวนงบประมาณด้านไอทีทั้งหมด กำหนดให้มีบริการด้านไอทีที่จำเป็น โดยเฉพาะส่วนที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

เช่นเดียวกับการหันมาทบทวน “ค่าใช้จ่ายที่ซ่อนเร้น” ที่ทีมบริหารไอที ต้องหันมาดูแล ควบคุมสินทรัพย์ และระบบโครงสร้างไอทีที่ “แอบแฝง” ควรนำมารวมไว้เป็นหนึ่งเดียวในระบบไอทีขององค์กรเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

ผู้บริหารแอคเซนเชอร์เสนอยุทธศาสตร์พลิกแรงกดดันสู่การลดต้นทุนด้านไอทีอย่าง ยั่งยืนไว้อย่างน่าสนใจ เริ่มที่การลดค่าใช้จ่ายที่ต้องระบุมาตรการที่ชัดเจน และให้ผลรวดเร็วในการลดทอนค่าใช้จ่าย เน้นให้เกิดเงินสดหมุนเวียน คู่ไปกับการสร้างประโยชน์ระยะยาวให้เกิดกับองค์กร

“ควรลดต้นทุน เพื่อการเติบโตของธุรกิจลง แต่หันมาเน้นลงทุนทางด้านงบไอที เพื่อเป้าหมาย ที่จะได้นำเงินทีได้รับจากการประหยัดต้นทุนมาลงทุนใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ”

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ส่วนใหญ่มักให้งบสำหรับการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ หรืองบวิจัย และพัฒนาไว้เพียงแค่ 25% ขณะที่ลองไปดูองค์กรไอทีใหญ่ๆ ที่ประสบความสำเร็จระดับโลกทั้ง "กูเกิล" หรือ "แอ๊ปเปิ้ล" ให้งบวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไว้สูงมาก

นอกจากนี้ องค์กรควรหันมาใช้สินทรัพย์ด้านไอทีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ กำจัดสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นออกไป และลองหันมา “ออกแบบระบบไอทีใหม่ๆ” ปรับโครงสร้างไอทีเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน และให้ประโยชน์กับองค์กรในระยะยาว หากจะลดต้นทุน ก็ควรต้องลดต้นทุนด้วยวิธีที่ "ชาญฉลาด

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/global/20090807/

1 comments:

MRT IT Consult said...

"ความก้าวหน้าขั้นต่อไปในด้านไอที ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของการลดต้นทุน การบริหารความเสี่ยง และการยึดถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับทางกฏหมาย"

สิ่งที่ผู้บริหารไอทีควรคิด (ก่อนที่ผู้บริหารระดับสูงจะคิดให้)
"เคยพบเรื่องแบบนี้หรือไ่ม่ครับ วันแรกที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จ่ายไป 15,000 บาท วันนี้ใช้คอมพิวเตอร์มาสองปีแล้วรวมรายจ่ายไปกับคอมพิวเตอร์ราคาหมื่นห้านั้นห้าหมื่นแล้ว"

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More