Wednesday, December 14, 2011

Zimbra Desktop เมื่อเปรียบเทียบกับ Outlook และ Thunderbird

Zimbra Desktop เมื่อเปรียบเทียบกับ Outlook และ Thunderbird
Zimbra Desktop
Feature Comparison with Competing Products

Zimbra Desktop
Outlook
Thunderbird
Cross Platform Windows, Mac OS, Linux Windows Only Windows, Mac OS, Linux and more
Cost Free Commercial License Free
Open Source 100% No 100%
Multiple users on same Desktop or Laptop No - Version 1.0.4 does not allow installation for multiple users Yes - Each user has own profile Yes - Each user has own profile

Support Enterprise Collaboration Server Zimbra Collaboration Suite Microsoft Exchange Server No
Identical UI as Enterprise Collaboration Server Web UI Yes No No
Integrated Calendar Yes Yes Via Lightning extension, not production quality
Corporate Address Book Yes Yes No
Documents, Tasks and Briefcase Yes Tasks only No
Groupware Sharing and Delegation Yes Yes No

Yahoo! Mail Support Yes No Via WebMail extension, not production quality
Yahoo! Address Book Support Yes No No
Yahoo! Calendar Support Yes No No

Gmail Mail Support Yes Yes Yes
Google Address Book Support Yes No No
Google Calendar Support Yes No No

Windows Live Mail Support Yes Yes Via WebMail extension, not production quality
Windows Live Address Book Support Yes Yes No
Windows Live Calendar Support ? ? ?

POP3 Support Yes Yes Yes
IMAP4 Support Yes Yes Yes

Email Address Auto Complete Yes Yes Only previously mailed contacts
Drag and Drop from Desktop Yes No No
Support Tagging All Data Types Yes No No
Conversation View Across Folders Yes No No

Usable When Offline Yes Yes Yes
Seamless Online/Offline Transition Yes Yes No
Access All Data Offline Yes Does not download all data by default Does not download all data by default
Manage Multi-GB Mailboxes Yes Slow Slow
Search across Multi-GB Data Index based, fast Limited and slow Limited and slow
New Mail Notification Yes Limited Limited
Themes and Colors Yes No Yes
Auto Update Yes Yes Yes
Extensibility Zimlets Plugins Extensions


เลือกเมล์เซิร์ฟเวอร์แบบไหนจึงเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับองค์กร

เลือกเมล์เซิร์ฟเวอร์แบบไหนจึงเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับองค์กร
คุณผู้อ่่าน..ท่านที่เคารพ เมล์เซิร์ฟเวอร์มีมากมายหลายแบบ เราจะเลือกใช้แบบไหนดี จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด วันนี้เรามาแชร์ความเห็นกันเรื่องนี้ดีไหม




1. ทำไมต้องใช้เมล์

เพราะการทำธุรกิจเรื่องติดต่อสื่อสารสำคัญมาก เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้ มีหลักฐานไว้สืบค้นย้อนหลัง มีความรวดเร็ว สะดวกใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา การใช้โทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น ๆ มีความรวดเร็วแต่อาจจะขาดหลักฐานไว้สืบค้นย้อนหลัง มีต้นทุนสูงเมื่อต้องติดต่อสือสารเป็นเวลานาน ๆ หรือต่างถิ่น ต่างเครือข่าย การสื่อสารต้นทุนต่ำ ใช้ได้ทั้งเสียงและเอกสารที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ e-mail เราแทบทุกคนล้วนมี e-mail address เป็นปกติเหมือนมีโทรศัพท์ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว

วันนี้ถ้ามีคนขอ e-mail แล้วท่านไม่มีใช้ โปรดพิจารณา... และหากเป็นการทำธุรกิจด้วยแล้ว ถ้ายังไม่มี e-mail ก็เลิกพูดไปเลยครับ


2. เลือกแบบไหนดีระหว่างของฟรีกับ @yourdomain.co.th

หลายคนบอกว่า @yourbisiness.co.th บ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือ และอิมเมจของบริษัท ส่วนเมล์ประเภทฟรีทั้งหลายเช่น @gmail , @hotmail สำหรับใช้ทั่วไป การสมัครใช้บริการบางอย่างในอินเทอร์เน็ต ไม่ยอมรับเมล์ฟรี เบื้องหลังเมล์เหล่านี้คือต้นทุนและเหตุผลที่มาที่ไปครับ

เมล์ฟรีทั้งหลาย เราไม่ได้ดูแลเซิร์ฟเวอร์เอง และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บเมล์ของเรานั้นอยู่ที่ไหน ข้อความสำคัญของการสื่อสารที่ส่งและรับก็ใช้ไปโดยไม่รู้ว่าผ่านเส้นทางไหนบ้าง จะมีใครอื่นรู้บ้างหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ซึ่งก็อาจขาดความน่าเชื่อถือในข้อความที่สำคัญ ๆ ส่วน @yourdomain.co.th เราทราบแน่นอนถึงสถานที่ตั้ง เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บ คนดูแล ระบบที่ใช้ข้อความที่ส่งหรือรับ จึงมั่นใจในถึงความน่าเชื่อถือ

3. Normal mail กับ Collaboration

เมล์ที่ใช้กันโดยทั่วจะมี Address book , Task , Calendar เป็นพื้นฐานเราใช้เครื่องมือเหล่านี้สำหรับตนเอง สมุดที่อยู่เก็บรายชื่อไว้ใช้คนเดียว Task จัดลำดับความสำคัญของงานไว้ใช้คนเดียว Calendar ปฏิทินเวลานัดหมายเอาไว้เตือนตนเท่านั้น เช่นนี้เรียกว่า Normal Mail ถ้าเราแบ่งใช้เครื่องมือเหล่านี้กับคนอื่น ๆ แบ่งใช้ address book แบ่งใช้ task แบ่งใช้ calendar ก็เป็นการทำงานร่วมกันเกิดการทำงานเป็นทีม ลดเวลา สร้างความเข้มแข็งในกระบวนการต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติของทีมเมล์ที่ใช้ลักษณะนี้เราเรียกว่า Collaboration
เมล์ฟรีก็มีให้บริการเช่น gmail หากใช้กันอย่างจริงจังก็ต้องเสียเงิน มีต้นทุน

เมล์ที่เป็น @yourbisiness.co.th ของเราใช้เครื่องมือเหล่านี้ร่วมกันได้หรือเปล่า หากใช้รับส่งเมล์อย่างเดียวก็เป็นเมล์พื้น ๆ เรียกว่า POP3 ผมเห็นบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งมีผู้ใช้เมล์ที่เป็น @bisiness.co.th 50 รายชื่อ เมื่อมีการ update รายชื่อใหม่แต่ละครั้งทำเป็น excel แล้วส่งเป็น Attach File ไปให้ทั้งห้าสิบ adddress นั้น แต่ละคนเมื่อจะส่งเมล์ถึงคนที่ไม่ค่อยได้ส่ง หรือคนนั้นไม่ได้เก็บบันทึกไว้ใน Address book ก็ต้องถามและสืบค้นกันน่าดู บ่อยครับเห็นโทรไปถามปลายทางก่อนจะส่ง e-mail ถ้าเป็น Collaboration เมล์ลักษณะการทำงานแบบนี้จะไม่มี....

4. ตั้งเมล์เซิร์ฟเวอร์เอง หรือ ตั้งไว้ที่อื่น

การมีเมล์เซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง และตั้งอยู่ในบริษัทเองเลย ถือว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นพอๆกับการจะซื้อรถคันแรกนั่นแหละครับ เพราะเมล์เซิร์ฟเวอร์คือสิ่งที่ใช้แล้วเปลี่ยนยาก ใช้แล้วใช้เลยและต้องต่อเนื่อง เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารนี่ครับ ต่อไปนี้คือเหตุผลดี ๆ ที่ควรจะต้องมีเมล์เซิร์ฟเวอร์เอง

4.1 มี admin เก่ง ๆ สามารถดูแลและติดต้งเซิร์ฟเวอร์ได้สารพัด รู้เรื่องเมล์ได้ทะลุปรุโปร่ง เหมือนมีช่างซ่อมรถเก่ง ๆ อยู่ในบ้าน เวลารถเสียไปไม่ต้องไปที่อู่ เรียกซ๋อมที่บ้านได้เลย ครับ... ถ้ามีแบบนี้ให้ 2 คะแนนไปก่อนครับ

4.2 มีงบประมาณ เพียงพอในการติดตั้งครั้งแรก และสำหรับดูแลในปีถัดไป ถัดไป ถัดๆไปได้ อย่างไม่ติดขัด ตัวอย่างการลงทุน เซิร์ฟเวอร์ดี ๆ แกร่ง ๆ 1 ตัว 50000 บาท โปรแกรมเมล์แบบขั้นเทพ 100000 บาท ตัวป้องกันสแปมขั้นเทพ 50000 บาท สายอินเทอร์เน็ตเป็นของตนเอง เอาแบบทางด่วนเลย ก็ตกเดือนละ 5-6 พันบาท ห้องเซิร์ฟเวอร์ขั้นเย็นฉ่ำ ระบบไฟที่ไม่ตกไม่เกินอีกสัก 100000 บาท ถ้ามีงบเหล่านี้พร้อมแล้วเขียนไว้ 4 คะแนนครับ

4.3 ต้องการทำงานเป็นทีมในองค์กร ใช้การวางแผนร่วมกัน การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การติดตามงาน การเก็บรักษาข้อมูลอย่างปลอดภัย การเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ต้องการลดกระดาษ ลดการสื่อสารในหน่วยงาน เมื่อดีดลูกคิดแล้วการลงทุนในข้อ 4.2 น้อยกว่าผลที่ได้จากการลดต้นทุนในข้อนี้ เช่นลงทุนไปปีแรก 300000 บาท สามารถลดการซื้อกระดาษได้ 200000 และลดค่าโทรศัพท์ลงได้อีก 100000 พนักงานทำงานได้เต็มเวลาขึ้นอีกคนละ 1 ชั่วโมงต่อวัน จากผลการทำงานเป็นทีม เขียนไว้อีก 2 คะแนนครับ

รวมได้แปดคะแนนแล้วใช่ไหม

4.4 การเข้าถึงเมล์จาก device เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ทำได้ครอบคลุมกว่าไหม ปัจจุบันเราใช้เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยเช่น iPOD , iPad , SmartPhone , การเข้าถึงเมล์ที่ตั้งไว้ในองค์กรนั้นจากเครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้ครอบคลุมมากที่สุดเขียนลงไป 2 คะแนนน ถ้าทำได้เพียงบางส่วนเขียนลงไป 1 คะแนน

รวมกันแล้วถ้าได้มากกว่า 8 คะแนน เห็นด้วยครับที่จะตั้งเมล์เซิร์ฟเวอร์ ขึ้นมาเอง หากได้คะแนนต่ำกว่าแปดฝากไว้กับคนอื่นดีกว่าครับ

เอวัง.....

เรียน Zimbra Email ที่ HARVEY MUDD College

เรียน Zimbra Email ที่ HARVEY MUDD College
คุณผู้อ่าน...ท่านที่เคารพ

ผมชอบ zimbra ของเว็บต่างประเทศ โดยเฉพาะตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีการใช้ zimbra กันอย่างจริงจัง และแนะนำเทคนิคต่าง ๆ แก่ผู้ใช้ของตน อยากเห็นการใช้ zimbra ในมหาวิทยาลัยในบ้านเราแบบนี้จังเลย
วันนี้ไปดูคำแนะนำการใช้ zimbra mail ที่ HARVEY MUDD COLLEGE กันครับ


เขาแนะนำไว้หลายเรื่องเช่น




http://www.hmc.edu/

ขอให้ได้ประโยชน์กลับมาบ้างนะครับ..

ไปต่ออีกแห่งหนึ่งคือ
UNIVERSITY OF WISCONSIN SYSTEM

UWSA Help Desk

Zimbra: Email

What is Zimbra?
Accessing and Logging into Zimbra
Zimbra Working Screen
Viewing Your Quota Information in Zimbra
Reading Email
Sending Email Messages
Using Attachments
Deleting Email Messages
Printing Email Messages
Searching Messages
Using Email Tags
Using Email Folders
Sharing Email Folders
Using the Address Book (including Searching for and Emailing to UWSA Distribution Lists)
Creating a Contact Group in your Address Book
Sharing Address Books
Using TasksSubscribing to RSS Feeds
Zimbra Email Preferences (including creating Auto Reply, Signature(s), Adding Accounts), Creating a Persona, Mail Filters)
Zimbra Help Features
Logging Out of Zimbra


http://www.wisconsin.edu/

ขอให้มีความสุขกับการได้เรียนรู้นะครับ...

เพิ่ม user ล๊อกอินวินโดสว์แบบ Primary Domain ด้วย Zimbra Admin UI

เพิ่ม user ล๊อกอินวินโดสว์แบบ Primary Domain ด้วย Zimbra Admin UI

การบริหาร user ในระบบเน็ตเวิร์กที่มีให้บริการหลายเซิร์ฟเวอร์เช่น Login Windows (PDC) , Authenticated ระบบ Log ตามพรบ. คอมพิวเตอร์, Username E-mail เป็นต้น ถ้าในระบบนั้นไม่มีเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Authenticated ผู้ดูแลระบบจะต้องเพิ่ม username ในแต่ละเซิร์ฟเวอร์เอง ทางฝั่งผู้ใช้งานหากแต่ละเซิร์ฟเวอร์ใช้พาสเวิร์ดไม่เหมือนกัน ย่อมมีความยุ่งยากที่จะจดทำพาสเวิร์ด และเบื่อหน่ายในการเข้าใช้งานได้ง่าย ๆ
Samba ใข้ UserName จาก Zimbra

ถ้าคุณใช้ Zimbra Mail ในเครือข่ายนั้นอยู่แล้ว ใช้ ZCS เป็น Authenticated Server ได้เลย ด้วย OpenLdap ที่ติดตั้งมาพร้อมกับ Zimbra จะช่วยให้จัดการ user ได้ง่ายขึ้นลดความซ้ำซ้อนของการตั้ง username ในหลายเซิร์ฟเวอร์ได้ผลดีนัก



ตัวอย่าง demo Samba Primary Domain ด้วย Zimbra Mail


Howto :

UNIX and Windows Accounts in Zimbra LDAP and Zimbra Admin UI 6.0

Zimbra SUSE and Windows Account Part1

Zimbra SUSE and Windows Account Part2

HOWTo replace AD+Exchange with Samba+Zimbra




 

Zimbra Mail กับ CRM ตอนที่ 1

Zimbra Mail กับ CRM ตอนที่ 1
คุณผู้อ่าน...ท่านที่เคารพ

วันนี้บริษัทต่าง ๆ ให้ความสนใจกับเรื่อง CRM กันมากเพื่อหวังให้เป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มยอดขาย จากลูกค้าเดิม และใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาลูกค้าใหม่ ๆ ถึงขนาดลงทุนซื้อซอฟต์แวร์ประเภท CRM มาใช้งานกันเป็นการเฉพาะเลยก็มีไม่น้อย ผลของการใช้ซอฟต์แวร์ CRM จะทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด คุ้มกับค่าซอฟต์แวร์หรือไม่ ผู้ที่ใช้เท่านั้นจึงจะประจักษ์แจ้งแก่ตนใช่ไหมครับ

"การวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับลูกค้า" ในความหมายหนึ่งของ CRM นั้น จะต้องมีข้อมูลที่มากพอ และถูกต้องเกี่ยวกับลูกค้าจึงจะเข้าใจในความต้องการอันเป็นเนื้อในของลูกค้าแต่ละราย ที่จะสร้างสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง ที่เป็นที่มาของรายได้ส่วนเพิ่มจากลูกค้านั้นได้ โปรแกรม CRM ทั้งหลายนั้นก็มาจากการป้อนข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าเข้าไปอย่างเพียงพอ และถูกต้องแล้วโปรแกรมไปทำการวิเคราะห์ออกมาเป็นตัวเลขบ้าง เป็นกราฟบ้าง ส่งให้มนุษย์อย่างเราเอาไปใช้งานต่อ

... ถ้าอ่านตัวเลขจากโปรแกรม crm แล้วไม่เข้าใจ โปรแกรม crm ก็หมดความหมาย..

ฉะนั้นความสำคัญอันดับแรกสุดก็คือ "ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับลูกค้า" เช่นข้อมูลในการติดต่อซื้อขายกับบริษัท ตั้งแต่แรกเริ่มเข้ามาเป็นลูกค้า ซื้อสินค้าชิ้นแรก จนถึงปัจจุบัน มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องอยู่ครบทุกกระบวนการ ทุกเหตุการณ์ แม้กระทั้งลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลของบริษัทที่มีก็ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยอย่างทันที จึงจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ถ้าบริษัทไม่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่เลย หรือมีเพียงน้อยนิด ก็อย่าไปลงทุนซื้อซอฟต์แวร์ crm กันเลยครับ มาจัดระบบข้อมูลของลูกค้าให้เรียบร้อยเสียก่อน...ดีกว่า

ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วก็จะอยู่ที่ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น มาจากการติดต่อซื้อขายกันทั้งเอกสาร อีเมล์ บันทึกทางโทรศัพท์ การนัดพบ การประชุม และผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเหล่านี้อันดับแรกคือพนักงานขายนั่นเอง ถ้าบริษัทออกแบบให้พนักงานฝ่ายขายมีเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าอย่างเป็นระบบ ระเบียบ ถาวรและยอดเยี่ยมแล้ว บริษัทก็จะได้ฐานข้อมูลของลูกค้านั้นๆ ที่สามารถนำออกมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ และหากเป็นฐานข้อมูลที่มากพอ ก็จะส่งผลดีต่อการวิเคราะห์ข้อมูลได้มากที่สุด ราวกับว่า "เรารู้จักตัวลูกค้าดี กว่าที่ลูกค้ารู้จักตัวเองเสียอีก"

บริษัทจะเก็บข้อมูลจากพนักงานขายที่กระจัดกระจาย ให้เป็นฐานข้อมูลได้อย่างไร?? นี่แหละครับเป็นโจทก์ใหญ่ยิ่งกว่า จะเก็บประวัติการซื้อขายอย่างไร เอกสารที่มีความสัมพันธ์กันจะเก็บอย่างไร อีเมล์ของพนักงานขายแต่ละคนที่ติดต่อกับลูกค้ารายเดียวกันจะนำมารวมกันอย่างไร? และอีกหลายอย่างครับ การรวมรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้อ้างอิงและจัดเป็นหมวดหมู่ให้ได้นี่แหละครับ ... งานใหญ่และมีความสำคัญมากกว่า นอกจากจะต้องหาวิธีรวมรวมข้อมูลเหล่านี้มาจัดเก็บแล้ว ยังต้องพิจาณาการเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่าย ๆ ด้วยนะครับ ไม่ใช่รวบรวมเป็นฐานข้อมูลไว้แล้ว จะหาวันเกิดของลูกค้ารายหนึ่งใช้เวลาสิบถึงยี่สิบนาที หรือหาไม่เจอเลยแบบนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน

พนักงานขายส่วนใหญ่จะใช้อีเมล์ในการติดต่อกับลูกค้า บริษัทก็ต้องหาวิธีจัดเก็บอีเมล์ที่ติดต่อเหล่านั้นไว้ ตามลักษณะของซอฟต์แวร์อีเมล์ที่พนักงานขายใช้กัน หากพนักงานขายแต่ละคนใช้ซอฟต์แวร์เมล์ไม่เหมือนกัน บางคนใช้ mobile บางคนใช้ notebook บางคนใช้ gmail บางคนใช้ hotmail แบบนี้ ก็จะมีความยุ่งยากไม่เป็นมาตรฐานในการจัดเก็บ บริษัทก็ควรจะมีเมล์กลางให้พนักงานใช้ร่วมกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อจัดเก็บอีเมล์ไว้ได้ ผมเห็นหลายบริษัทครับ ที่ไป implement ระบบอีเมล์มา มีเมล์เซิร์ฟเวอร์ใช้ภายในองค์กรแล้ว แต่จัดเก็บอีเมล์ไว้เป็นฐานข้อมูลไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะประยุกต์ใช้เมล์เซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่ได้ แต่บางแห่งเมล์เซิร์ฟเวอร์ก็ไม่สามารถจัดทำเป็นฐานข้อมูลได้เหมือนกัน เพราะขาดคุณสมบัติ

ถ้าหากองค์กรไหนใช้ zimbra mail อยู่แล้ว ถือว่ามีเครื่องมือทางในการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลที่ดี และประยุกต์ใช้เป็น CRM ได้เลย โดยไม่ต้องซื้อซอฟต์แวร์ CRM เพิ่มแต่อย่างใด .. ขอให้ประยุกต์ใช้ให้เป็นเถอะครับ

ด้วยความสามารถทางด้าน collaboration zimbra จึงทำ CRM ได้ง่าย ๆ

zimbra mail ยังมี zimlet ที่เชื่อมต่อไปยังโปรแกรม CRM ข้างนอกเช่น SugaCRM อีกด้วย...

แต่เอาแค่ความสามารถในตัวของ zimbra ก็ใช้ CRM ได้อย่างกินขาดอยู่แล้ว...
ซึ่งผมจะนำมาแจกแจงให้ทราบโดยละเอียดแบบหมดเปลือกเห็นเนื้อขาวกันเลยทีเดียว

ครับก็อยากสรุปว่า CRM นั้นเป็นผลที่จะให้บริษัทสามารถหารายได้เพิ่มจากลูกค้า โดยมาจากข้อมูลพื้นฐาน การติดต่อต่าง ๆ ที่สั่งสมเก็บกันมาจนเป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง มากพอที่จะนำไปเข้าซอฟต์แวร์ CRM เพื่อทำการวิเคราะห์ ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในรูปของอีเมล์จากพนักงานขาย ที่บริษัทจะต้องหาวิธีการรวบรวมเป็นฐานข้อมูลให้ได้...

ตอนที่ 2 เราจะมาดูความสามารถของ zimbra mail เกี่ยวกับ CRM แบบเข้าเนื้อหากันลยครับ...

ไหว้ครูมาพอสมควรแล้ว.... อิอิ

เอวัง....

Backup Zimbra Mail Opensource Edition

Backup Zimbra Mail Opensource Edition

ขอบันทึกไว้ก่อน สำหรับแฟนๆของ zimbra mail
เป็น script file สำหรับ backup zimbra mail opensource ที่พี่ท่าน backup เอาใจยากเหลือเกิน

1.http://www.osoffice.de/downloads/viewcategory-7.html
2.http://www.zimbra.com/forums/administrators/15275-solved-yet-another-backup-script-community-version.html
3. http://www.arkeia.com/
4. http://www.evil.cz/clanek/zimbra6-zimbra7-accounts-full-migration-keeping-old-passwords
5. http://eklundhome.com/wordpress/?p=66
6. http://www.kyapanel.com/wiki/doku.php?id=zimbra:zmbkpose
7. http://www.zimbra.com/forums/administrators/37114-per-user-backup-foss-edition.html
8. http://blog.zimbra.com/blog/archives/2008/09/zcs-to-zcs-migrations.html
9. http://www.zextras.com/?gclid=CP_6kIOJ4KgCFYQc6wodNWk2Gw

ผมจะกลับมาเล่าสู่กันฟัง...


Monday, December 5, 2011

ทำไมต้องเรียน private cloud office?


คุณผู้อ่าน... ท่านที่เคารพ

เมื่อผมได้ประกาศออกไปว่าจะมีการเปิดคอร์สพิเศษเกี่ยวกับ "การสร้าง Private Cloud Office" ก็มีหลายคำถามจากมิตรรักแฟน ๆหลายท่านได้สอบถามเข้ามา
หลายคำถามมีประโยชน์และถูกใจผมมากที่อยากจะตอบให้กระจ่างแจ้ง เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน วันนี้จึงถือโอกาสอธิบายความเพิ่มเติมต่อไปครับ



1. อะไรคือ private cloud office?

Private Cloud Office เป็นศัพท์ที่ผมบัญญัติขึ้นมาให้แตกต่างจาก Cloud Office ที่เป็น Googled Document , Microsoft 365 , Sharepoint , SkyDrive เป็นต้น
ซึ่ง solution เหล่านี้มีขายกันอยู่ทั่วไป โดยผู้ใช้งานเสียค่าบริการตามจำนวนการใช้ ซอฟต์แวร์และเซอร์วิสต่าง ๆ จะอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการในอินเทอร์เน็ต ซึ่งบอกไม่ถูก จับต้องไม่ได้ว่าเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นอยู่ที่ใด การจัดการเซิร์ฟเวอร์จะเป็นเรื่องของ cloud techonology และการให้บริการนั้นเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ผู้ให้บริการมีให้เท่านั้น (SaaS)

ส่วน private cloud office ก็คือ office ของเราๆท่านๆนี่แหละครับมีโปรแกรมอะไร ๆที่ใช้อยู่ในออฟฟิตก็ใช้ได้ปกติ อยู่ในเซิร์ฟเวอร์เครื่องไหนก็อยู่ในเซิร์ฟเวอร์เครื่องนั้นโดยปกติ ไม่ได้ขยับเอาไปที่ไหน อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เพียงแต่..... เราเอาซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งเรียกว่า 2X ApplicationServer มาครอบสร้างท่อการเชื่อมต่อให้โปรแกรมต่าง ๆ ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ใหลออกไปทางท่อที่เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตไปปรากฏไอคอนใช้งานบนเครื่อง iPad บ้าง เครือง Mac บ้าง เครื่อง Linux บ้างเหมือนเป็น cloud computing  โดยการประมวลผลและการบันทึกข้อมูลยังอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ในออฟฟิต มีความเป็น Private สร้างความปลอดภัยสูงสุดด้วยตนเอง

ดังนั้นเมื่ออยากให้โปรแกรมใด ๆ ไปรันบน tablet ที่กล่าวมาก็ publishing ออกไปทั้งโปรแกรม microsoft office , Outlook , Express , B-plus , C-Smile , Speedplus เป็นต้น ทดสอบและ implement มาแล้ว ใช้ได้ทุกโปรแกรมครับ

2. ข้อแตกต่างระหว่าง Private Cloud Office กับ Cloud Office อย่างเช่น Google Document , Sky Drive คืออะไร?

Cloud Office คือการให้บริการที่เรียกกว่า Software as a Service หรือ SaaS เฉพาะซอฟต์แวร์ที่ผู้ให้บริการมีและเปิดให้บริการเท่านั้น เหมือนร้านขายยาแผนโบราณ ก็มีแต่ยาแผนโบราณ ไม่อาจจะมีเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวสารขายได้

Private Cloud Office เป็นออฟฟิตแบบเดิม ๆ ที่ใช้ software 2X แปลงให้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โปรแกรมทุกตัวในออฟฟิตแบบเดิมจึงใช้งานได้หมดไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับเจ้าของบริษัทจะจำกัดว่าซอฟต์แวร์ตัวไหนที่จะไม่ให้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต

3. Private Cloud Office หมายถึงการแปลงซอฟต์แวร์เดิม ๆ ให้เป็น Webbased จึงจะใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดย tablet ต่าง ๆ ใช่หรือไม่?

ไม่ใช่ครับ... โปรแกรมที่เป็น web based นั้นสามารถใช้ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยบรรดา browser ของ tablet ได้อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องแปลงมาเป็น cloud office ยกเว้นมีข้อจำกัดจะต้องใช้ browser เฉพาะที่ tablet ไม่มีเท่านั้น

ส่วน private cloud office มุ่งทำให้ซอฟต์แวร์ที่เป็น Windows Based อย่างเช่น Express , B-Plus , WinSpeed , C-Smile เป็นต้น ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยการ publishing ไอคอนของโปรแกรมไปให้ การประมวลผลก็ดี การจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ก็ดียังอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมนั้น ๆ เหมือนเดิม

โปรแกรมใด ๆ ที่เป็น Windows Based และต้องการใช้ข้ามสาขา ผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างเช่นโปรแกรม Comeche ก็สามารถใช้เทคนิค publishing นี้โดยไม่ต้องแปลง code โปรแกรมใหม่แต่อย่างใด



4. Private Cloud Office ก็ไม่แตกต่างจาก VPN เพียงแต่บัญญัติศัพท์ให้โก้หรูทันสมัยเสียอย่างนั้น?

คำถามนี้จากแอดมินแห่งหนึ่ง... มีความเห็นเล็กน้อยประกอบด้วย
ครับ.. ในแง่ของการใช้งานและเทคโนโลยีการส่งข้อมูลระหว่างใช้งาน private cloud office แตกต่างจาก VPN อย่างสิ้นเชิงครับ เหมือนแขนซ้ายกับแขนขวาหากตัดเอามาวางคุ่กันย่อมดูไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร แต่หากอยู่ที่ตัวของบุคคลการใช้งาน และความถนัดต่างกันสิ้นเชิง

VPN เป็นเรื่องของช่องทางการสื่อสารระหว่างสองไซต์ เหมือนถนน มีจุดเชื่อมต่อสองข้างด้วยเทคโนโลยีที่คุณเลือกอยุ่กับงบประมาณจะเป็น leaseline หรือ MPLS หรืออินเทอร์เน็ต ADSL กับ Dyndns ธรรมดา ก็แล้วแต่ เมื่อ VPN เป็นถนนแล้ว โปรแกรมใดๆที่วิ่งบนถนน จะวิ่งอย่างไรเป็นเรื่องของโปรแกรมแล้วครับ เหมือนรถยนต์จะวิ่งด้วยเครื่องยนต์อะไรแบบไหนก็เป็นเรื่องของรถยนต์ถนนไม่เกี่ยว

Private Cloud Office เป็นเรื่องของเทคโนโยลีการส่งข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับไครเอนต์โดยไม่สนใจว่าถนนหรือช่องทางการส่งนั้นจะเป็น internet , เป็น lan หรือเป็น VPN , private cloud office จะใช้เทคนิคการ push โปรแกรมจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ไปยังไครเอนต์ผ่าน engine อยู่ตลอดเวลาของการ connection และเก็บอยู่ใน cache ของ client บางส่วน การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วแม้บนอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL ธรรมดาๆ

ในส่วนการ implement ที่ผ่านมาเราพบว่าบริษัทที่ใช้ VPN ให้กับซอฟต์แวร์ระหว่างไซต์เมื่อเปลี่ยนมาเป็น Private Cloud Office แล้วทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายคงที่ต่อเดือนของ VPN ได้อย่างมากและยังได้ความเร็วจากเทคนิคการ push และ cache ของ private cloud อีกด้วย


5. ออฟฟิตของผมเป็น Windows XP จะใช้ private cloud office ได้หรือไม่?

ถ้าซอฟต์แวร์ในออฟฟิตรันบนเครื่อง Windows XP และไม่มีการแชร์ใช้งานเลย อย่างนี้เป็น private cloud office ไม่ได้
ถ้าซอฟต์แวร์นั้นรันบน windows server แล้วใช้ windows xp เป็นเครื่องลูกในการเข้าใช้งาน แบบนี้เป็ฯ private cloud office ได้เลย

6. ผมไม่มีความรู้ใด ๆ เกี่ยวกับ server หรือ network เลย จะเรียนรู้ระบบ private cloud office ได้หรือไม่?

ต้องบอกว่าได้แน่นอนครับ... เพราะเราสอนคนที่ไม่รู้ให้รู้ครับ ... ผมกล้ายืนยันว่าถ้าคุณไม่คล่องเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์และเน็ตเวิร์ก คุณก็ยังเรียนรู้และทำระบบ private cloud office ได้ไม่มีปัญหาครับ
ทำไม...
จากประสบการณ์ที่เรา implement มาพบกว่าเราสอนให้ admin ขององค์กรซึ่งบางท่านมีความรู้เกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ไม่มากนัก ไม่เกินหนึ่งวันแอดมินเหล่านั้นก็สามารถดูแลระบบได้และมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้นอย่างมากเมื่อพบกับเราครั้งที่สอง เพราะว่า private cloud เป็น windows เรียนรู้ได้ง่าย มีแหล่งศึกษาเยอะมากครับ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้รับการโหวดให้เป็นอันดับที่ 1 ในเรื่องของ virtualization จากหลายสำนัก รับรองว่าคุณจะมีแหล่งค้นคว้าจำนวนมากมายมหาศาลเลยทีเดียว

7. เรียนจบคอร์สแล้ว จะได้รับใบ cer หรือไม่?

ไม่ได้... ครับ บริษัทผม และ พาร์ทเนอร์ 2X ในประเทศไทยก็ยังไม่มีรายใดได้รับ cer จาก 2X อย่างเป็นทางการครับ ใบ cer ที่ว่าคุณต้องบินไปสอบที่อเมริกา และทำยอดขาย license ให้ได้จำนวนหนึ่งเลยทีเดียวครับ

ที่เราเปิดคอร์สนี้ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ

7.1 เรามั่นใจว่าจะนำเอาประสบการณ์การ implemnet และการเป็น partner 2X thailand มาแนะนำคุณได้
7.2 เป็นทางเลือกให้มีการ implemnet ระบบ private cloud office มากขึ้นจาก Critrix XenDesktop และ VMware View
7.3 สร้างรายได้ให้กับกลุ่ม admin ที่ต้องการประสบการณ์และรายได้เพิ่ม

8. โปรแกรมที่สามารถทำ private cloud office มีอะไรบ้าง คุณสอนโปรแกรมอะไร?

XenDesktop และ VMware View เป็นโปรแกรมประเภท virtualization ที่ published Application และ Desktop สามารถสร้าง private cloud office ได้ แต่เราใช้ 2X ApplicationServer XG มาเป็นตัว implement ครับ เพราะเหตุผล 3 ประการคือ

8.1 Easy-Management โปรแกรม 2X บริหารจัดการได้ง่ายกว่า XenDesktop และ VMware View ในหน้าจอเดียวไม่ซับซ้อน
8.2 Security Management โปรกรม 2X มีระบบจัดการด้านความปลอดภัยสูงมากทั้ง SSL , IP Filter , User Filter และ Application Filter
8.3 Lower Cose โปรแกรม 2X ขายเป็น license per server ที่ 80 connection ถูกกว่า citrix และ vmware view กว่า 50%

9. สิทธิประโยชน์ที่ผู้อบรมจะได้รับจากการเรียนคอร์สพิเศษนี้ มีอะไรบ้าง?

1. สามารถวางระบบ private cloud office ได้เองใน standard design farm ที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
2. สิทธิ์ในการ ซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 2X ถูกกว่า 30% โดยผ่าน 2X partner thailand


Tawich Boondhum


คุณผู้อ่าน... ท่านที่เคารพ

เมื่อผมได้ประกาศออกไปว่าจะมีการเปิดคอร์สพิเศษเกี่ยวกับ "การสร้าง Private Cloud Office" ก็มีหลายคำถามจากมิตรรักแฟน ๆหลายท่านได้สอบถามเข้ามา
หลายคำถามมีประโยชน์และถูกใจผมมากที่อยากจะตอบให้กระจ่างแจ้ง เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน วันนี้จึงถือโอกาสอธิบายความเพิ่มเติมต่อไปครับ



1. อะไรคือ private cloud office?

Private Cloud Office เป็นศัพท์ที่ผมบัญญัติขึ้นมาให้แตกต่างจาก Cloud Office ที่เป็น Googled Document , Microsoft 365 , Sharepoint , SkyDrive เป็นต้น
ซึ่ง solution เหล่านี้มีขายกันอยู่ทั่วไป โดยผู้ใช้งานเสียค่าบริการตามจำนวนการใช้ ซอฟต์แวร์และเซอร์วิสต่าง ๆ จะอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการในอินเทอร์เน็ต ซึ่งบอกไม่ถูก จับต้องไม่ได้ว่าเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นอยู่ที่ใด การจัดการเซิร์ฟเวอร์จะเป็นเรื่องของ cloud techonology และการให้บริการนั้นเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ผู้ให้บริการมีให้เท่านั้น (SaaS)

ส่วน private cloud office ก็คือ office ของเราๆท่านๆนี่แหละครับมีโปรแกรมอะไร ๆที่ใช้อยู่ในออฟฟิตก็ใช้ได้ปกติ อยู่ในเซิร์ฟเวอร์เครื่องไหนก็อยู่ในเซิร์ฟเวอร์เครื่องนั้นโดยปกติ ไม่ได้ขยับเอาไปที่ไหน อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เพียงแต่..... เราเอาซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งเรียกว่า 2X ApplicationServer มาครอบสร้างท่อการเชื่อมต่อให้โปรแกรมต่าง ๆ ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ใหลออกไปทางท่อที่เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตไปปรากฏไอคอนใช้งานบนเครื่อง iPad บ้าง เครือง Mac บ้าง เครื่อง Linux บ้างเหมือนเป็น cloud computing  โดยการประมวลผลและการบันทึกข้อมูลยังอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ในออฟฟิต มีความเป็น Private สร้างความปลอดภัยสูงสุดด้วยตนเอง

ดังนั้นเมื่ออยากให้โปรแกรมใด ๆ ไปรันบน tablet ที่กล่าวมาก็ publishing ออกไปทั้งโปรแกรม microsoft office , Outlook , Express , B-plus , C-Smile , Speedplus เป็นต้น ทดสอบและ implement มาแล้ว ใช้ได้ทุกโปรแกรมครับ

2. ข้อแตกต่างระหว่าง Private Cloud Office กับ Cloud Office อย่างเช่น Google Document , Sky Drive คืออะไร?

Cloud Office คือการให้บริการที่เรียกกว่า Software as a Service หรือ SaaS เฉพาะซอฟต์แวร์ที่ผู้ให้บริการมีและเปิดให้บริการเท่านั้น เหมือนร้านขายยาแผนโบราณ ก็มีแต่ยาแผนโบราณ ไม่อาจจะมีเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวสารขายได้

Private Cloud Office เป็นออฟฟิตแบบเดิม ๆ ที่ใช้ software 2X แปลงให้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โปรแกรมทุกตัวในออฟฟิตแบบเดิมจึงใช้งานได้หมดไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับเจ้าของบริษัทจะจำกัดว่าซอฟต์แวร์ตัวไหนที่จะไม่ให้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต

3. Private Cloud Office หมายถึงการแปลงซอฟต์แวร์เดิม ๆ ให้เป็น Webbased จึงจะใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดย tablet ต่าง ๆ ใช่หรือไม่?

ไม่ใช่ครับ... โปรแกรมที่เป็น web based นั้นสามารถใช้ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยบรรดา browser ของ tablet ได้อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องแปลงมาเป็น cloud office ยกเว้นมีข้อจำกัดจะต้องใช้ browser เฉพาะที่ tablet ไม่มีเท่านั้น

ส่วน private cloud office มุ่งทำให้ซอฟต์แวร์ที่เป็น Windows Based อย่างเช่น Express , B-Plus , WinSpeed , C-Smile เป็นต้น ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยการ publishing ไอคอนของโปรแกรมไปให้ การประมวลผลก็ดี การจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ก็ดียังอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมนั้น ๆ เหมือนเดิม

โปรแกรมใด ๆ ที่เป็น Windows Based และต้องการใช้ข้ามสาขา ผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างเช่นโปรแกรม Comeche ก็สามารถใช้เทคนิค publishing นี้โดยไม่ต้องแปลง code โปรแกรมใหม่แต่อย่างใด



4. Private Cloud Office ก็ไม่แตกต่างจาก VPN เพียงแต่บัญญัติศัพท์ให้โก้หรูทันสมัยเสียอย่างนั้น?

คำถามนี้จากแอดมินแห่งหนึ่ง... มีความเห็นเล็กน้อยประกอบด้วย
ครับ.. ในแง่ของการใช้งานและเทคโนโลยีการส่งข้อมูลระหว่างใช้งาน private cloud office แตกต่างจาก VPN อย่างสิ้นเชิงครับ เหมือนแขนซ้ายกับแขนขวาหากตัดเอามาวางคุ่กันย่อมดูไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร แต่หากอยู่ที่ตัวของบุคคลการใช้งาน และความถนัดต่างกันสิ้นเชิง

VPN เป็นเรื่องของช่องทางการสื่อสารระหว่างสองไซต์ เหมือนถนน มีจุดเชื่อมต่อสองข้างด้วยเทคโนโลยีที่คุณเลือกอยุ่กับงบประมาณจะเป็น leaseline หรือ MPLS หรืออินเทอร์เน็ต ADSL กับ Dyndns ธรรมดา ก็แล้วแต่ เมื่อ VPN เป็นถนนแล้ว โปรแกรมใดๆที่วิ่งบนถนน จะวิ่งอย่างไรเป็นเรื่องของโปรแกรมแล้วครับ เหมือนรถยนต์จะวิ่งด้วยเครื่องยนต์อะไรแบบไหนก็เป็นเรื่องของรถยนต์ถนนไม่เกี่ยว

Private Cloud Office เป็นเรื่องของเทคโนโยลีการส่งข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับไครเอนต์โดยไม่สนใจว่าถนนหรือช่องทางการส่งนั้นจะเป็น internet , เป็น lan หรือเป็น VPN , private cloud office จะใช้เทคนิคการ push โปรแกรมจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ไปยังไครเอนต์ผ่าน engine อยู่ตลอดเวลาของการ connection และเก็บอยู่ใน cache ของ client บางส่วน การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วแม้บนอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL ธรรมดาๆ

ในส่วนการ implement ที่ผ่านมาเราพบว่าบริษัทที่ใช้ VPN ให้กับซอฟต์แวร์ระหว่างไซต์เมื่อเปลี่ยนมาเป็น Private Cloud Office แล้วทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายคงที่ต่อเดือนของ VPN ได้อย่างมากและยังได้ความเร็วจากเทคนิคการ push และ cache ของ private cloud อีกด้วย


5. ออฟฟิตของผมเป็น Windows XP จะใช้ private cloud office ได้หรือไม่?

ถ้าซอฟต์แวร์ในออฟฟิตรันบนเครื่อง Windows XP และไม่มีการแชร์ใช้งานเลย อย่างนี้เป็น private cloud office ไม่ได้
ถ้าซอฟต์แวร์นั้นรันบน windows server แล้วใช้ windows xp เป็นเครื่องลูกในการเข้าใช้งาน แบบนี้เป็ฯ private cloud office ได้เลย

6. ผมไม่มีความรู้ใด ๆ เกี่ยวกับ server หรือ network เลย จะเรียนรู้ระบบ private cloud office ได้หรือไม่?

ต้องบอกว่าได้แน่นอนครับ... เพราะเราสอนคนที่ไม่รู้ให้รู้ครับ ... ผมกล้ายืนยันว่าถ้าคุณไม่คล่องเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์และเน็ตเวิร์ก คุณก็ยังเรียนรู้และทำระบบ private cloud office ได้ไม่มีปัญหาครับ
ทำไม...
จากประสบการณ์ที่เรา implement มาพบกว่าเราสอนให้ admin ขององค์กรซึ่งบางท่านมีความรู้เกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ไม่มากนัก ไม่เกินหนึ่งวันแอดมินเหล่านั้นก็สามารถดูแลระบบได้และมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้นอย่างมากเมื่อพบกับเราครั้งที่สอง เพราะว่า private cloud เป็น windows เรียนรู้ได้ง่าย มีแหล่งศึกษาเยอะมากครับ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้รับการโหวดให้เป็นอันดับที่ 1 ในเรื่องของ virtualization จากหลายสำนัก รับรองว่าคุณจะมีแหล่งค้นคว้าจำนวนมากมายมหาศาลเลยทีเดียว

7. เรียนจบคอร์สแล้ว จะได้รับใบ cer หรือไม่?

ไม่ได้... ครับ บริษัทผม และ พาร์ทเนอร์ 2X ในประเทศไทยก็ยังไม่มีรายใดได้รับ cer จาก 2X อย่างเป็นทางการครับ ใบ cer ที่ว่าคุณต้องบินไปสอบที่อเมริกา และทำยอดขาย license ให้ได้จำนวนหนึ่งเลยทีเดียวครับ

ที่เราเปิดคอร์สนี้ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ

7.1 เรามั่นใจว่าจะนำเอาประสบการณ์การ implemnet และการเป็น partner 2X thailand มาแนะนำคุณได้
7.2 เป็นทางเลือกให้มีการ implemnet ระบบ private cloud office มากขึ้นจาก Critrix XenDesktop และ VMware View
7.3 สร้างรายได้ให้กับกลุ่ม admin ที่ต้องการประสบการณ์และรายได้เพิ่ม

8. โปรแกรมที่สามารถทำ private cloud office มีอะไรบ้าง คุณสอนโปรแกรมอะไร?

XenDesktop และ VMware View เป็นโปรแกรมประเภท virtualization ที่ published Application และ Desktop สามารถสร้าง private cloud office ได้ แต่เราใช้ 2X ApplicationServer XG มาเป็นตัว implement ครับ เพราะเหตุผล 3 ประการคือ

8.1 Easy-Management โปรแกรม 2X บริหารจัดการได้ง่ายกว่า XenDesktop และ VMware View ในหน้าจอเดียวไม่ซับซ้อน
8.2 Security Management โปรกรม 2X มีระบบจัดการด้านความปลอดภัยสูงมากทั้ง SSL , IP Filter , User Filter และ Application Filter
8.3 Lower Cose โปรแกรม 2X ขายเป็น license per server ที่ 80 connection ถูกกว่า citrix และ vmware view กว่า 50%

9. สิทธิประโยชน์ที่ผู้อบรมจะได้รับจากการเรียนคอร์สพิเศษนี้ มีอะไรบ้าง?

1. สามารถวางระบบ private cloud office ได้เองใน standard design farm ที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
2. สิทธิ์ในการ ซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 2X ถูกกว่า 30% โดยผ่าน 2X partner thailand


 

Sunday, December 4, 2011

Endian UTM กับ Endian Community แฝดคนละฝา ความเหมือนที่แตกต่าง

Endian UTM กับ Endian Community แฝดคนละฝา ความเหมือนที่แตกต่าง

คุณผู้อ่าน...ท่านที่เคารพครับ

Endian นั้นมีสองแบบคือ Endian Firewall Community และ Endian UTM Appliance เพราะมีสองแบบนี่แหละครับหลายท่านจึงมีคำถามว่า แล้วมันต่างกันยังไง ฉันจะเลือกแบบไหนดี บริษัทของเราเป็นแบบนี้จะเลือกแบบไหน เดี๋ยวผมเปิดประเด็นให้ท่านได้เห็น และตัดสินใจกันเอาเองว่าจะเลือกแบบไหน

ดูภาพหน้าจอของ EFW สองแบบ ภาพแรกเป็น Endian Firewall Community ส่วนภาพที่สองเป็น Endian UTM Appliance

Endian Firewall Community

Endian UTM Appliance

1. ที่เว็บไซต์ของ Endian มีการเปรียบเทียบคุณสมบัติทั้งสองตัวแล้ว คลิกที่นี่ ดูการเปรียบเทียบ

2. โดยชื่อตัว Community ชื่อเต็มๆว่า Endian Firewall Community ส่วนตัว UTM ชื่อเต็ม ๆว่า Endian UTM Appliance ความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ ตัว community น่าจะตั้งชื่อว่า Endian UTM Community เพราะ UTM นี่แหละทำให้เราต้องการใช้ Endian หรือ UTM ยี่ห้ออื่น ๆ ซึ่ง UTM เป็นระบบผสมผสานการป้องกันภัยทางเน็ตเวิร์กและการป้องกันภัยทางอินเทอร์เทอร์เน็ตเข้าด้วยกันเป็นแพกเกจเดียว (http://en.wikipedia.org/wiki/Unified_Threat_Management) สำหรับตัว UTM นั้นตั้งชื่อได้ตรงความหมายกับหน้าที่และคุณสมบัติแล้ว

3.FW Community ให้ดาวน์โหลดได้ฟรีภายในข้อกำหนดของ GPL เป็น Software ใช้ติดตัังบน pc หรือบนเครื่อง server เหมือน ๆ linux ทั่วไปล่าสุดเป็นเวอร์ชั่น 2.4.1 ตัว EFW UTM ขายเป็นฮาร์ดแวร์แต่ผู้ผลิตเลย แกะกล่องติดตั้ง setup ค่าต่าง ๆ ก็ใช้งานได้เลยทันที และแบบขายเป็น Software สำหรับติดตั้ง มีคุณสมบัติต่าง ๆ เหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์ทุกประการ (อาจจะมีปัญหากับแลนการ์ดบางตัวได้ เหมือนกับตัว Community)

4. ความสามารถของ EFW สองแบบนี้แตกต่างกันในหลายหัวข้อ ถ้าท่านพิจารณารูปภาพด้านบนจะเห็นว่า Community กับ UTM มีเมนูมากน้อยกว่ากัน ดังนี้

4.1 เมนูของ EFW ตัว UTM จะมีมากกว่า Community ส่วนที่เกี่ยวกับการ update ความปอลดภัยด้านต่างๆผ่านเมนู Update และการได้รับความช่วยเหลือจาก Endian Team โดยผ่านเมนู Endian Network และ Support ส่วนตัว Community เป็นระบบปิดไม่มีการ update หรือต้องทำการ update แพกเกจต่าง ๆ ด้วนตนเองเป็นความสามารถของ admin แต่ละคนโดยเฉพาะ

Endian UTM Appliance
- Network Configuration
- Event notifications
- Update
- Support
- Endian Network
- Password
- Web Console
- SSH access
- GUI setting
- Backup
- Shutdown
- License Agrement

Endian Firewall Community
- Network Configuration
- Event notifications
- Passwords
- SSH acess
- GUI setting
- Backup
- Shutdown

ถ้าองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยระดับสูงสุด แพกเกจแต่ละตัวจะต้องมีการ update ช่องโหว่ต่าง ๆอย่างทันที หากเกิดปัญหาใด ๆ ต้องการแก้ปัญหาโดยอาศัยทีมเวิร์กก็ควรจะเลือกแบบ UTM ถ้าความปลอดภัยไม่ซีเรียส ระบบล่มไม่มีปัญหามาก ฝากชีวิตไว้กับแอดมินคนเดียวก็ได้ แบบนี้เลือกแบบ Community ก็น่าจะได้

4.2 EFW Community พัฒนาโดยกลุ่ม community โดย developer เพื่อ developer เหมาะสำหรับใช้ในรูปแบบโฮมออฟฟิต เป็นชุดที่ไม่ค่อยมีความเสถียรมีการสอบถามปัญหาและรายงานข้อบกพร่องใน community จำนวนมาก ซึ่งจะออกเป็น release อยู่ในช่วง 6-12 เดือน และ endian.it ไม่ได้มุ่งหมายที่จะเป็น UTM แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ว่าจะมีแพกเกจต่างๆสำหรับทำเป็น UTM ก็ตาม EFW ทำงานได้ดีทีเดียวเมื่อใช้เพื่อความมุ่งหมายหนึ่ง ๆ ที่ไม่ได้รันทุกเซอร์วิสพร้อมๆกัน บ้านเรานิยมใช้ EFW Community ในการกำหนด policy การใช้อินเทอร์เน็ตในองค์กร การทำ multiwan สำหรับร้านเน็ต และเป็นตัวเก็บ log ตามกฏหมายไทย เมื่อเลือกฮาร์ดแวร์ได้อย่างเหมาะสมลงตัวแล้ว การทำงานก็ถือว่ามีความเสถียรในระดับหนึ่งได้ดีทีเดียว ส่วนตัว UTM พัฒนาโดย endian.it มีการทดสอบจนมั่นใจจึงออกเป็น release มีความมุ่งหมายเป็น UTM จริง ๆ สำหรับองค์กรที่ต้องการความเสถียร ความมั่นคงปลอดภัย และอัตราการ throughput ที่เชื่อถือได้

4.3 EFW Community มีแพกเกจน้อยกว่า UTM การกำหนดค่าบางอย่างถูกซ่อนต้องกระทำผ่าน command line ตัว UTM มี option ในการเลือกใช้ Antivirus และ AntiSpam โดยเลือกเป็น Sophos Antivirus และ Commtouch RPD ได้โดยเสียเงินค่า subscribe และ Hotspot เป็นฟีเจอร์หนึ่งที่มีอยู่เฉพาะในตัว UTM เท่่านั้น

4.4 การกำหนดค่าต่าง ๆ ผ่าน GUI สำหรับตัว UTM เมื่อกำหนดค่าใด ๆ แล้วคลิก save หรือ apply จะมีความมั่นใจว่าระบบจะไม่แฮงก์ ไม่นิ่งสนิท หากเป็นตัว community แล้วมักจะมี error และอาการแฮงก์ให้เห็นอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะการไปนั่ง setup endian ที่ไซต์งานของลูกค้าที่เลือกเอาเครื่อง pc มาทำเป็น firewall จะเกิดปัญหาอยู่เป็นประจำ ลักษณะเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นเลยกับตัว UTM สามารถปิดงานได้ตามกำหนดเวลาแน่นอน

4.5 งบประมาณสำหรับ EFW ตัว community นั้นฟรีแน่นอน ใช้งานได้ตลอดจนกว่าเครื่องจะพังกันไปข้าง หรือจนกว่าแอดมินที่เซ็ตอัพให้จะลาออก ส่วนตัว UTM มีค่าฮาร์ดแวร์และค่า MA เช่นเดียวกับ UTM ค่ายอื่น ๆ ซึ่งพอจะสรุปงบประมาณได้ดังนี้

1. ค่า Endian UTM Appliance แต่ละรุ่นซึ่งออกแบบมาตามขนาดของจำนวน user ที่ใช้ เป็นงบก้อนหนึ่งที่ตายตัว
2. ค่า MA มีสองประเภทคือ Standard และ Advance โดย advance จะรับประกันตัว UTM Appliance ด้วย ซึ่งในปีแรกจะถูกให้ซื้อโดยอัตโนมัติครับ เพื่อลงทะเบียนผ่านระบบ endian network การทำ MA ทำให้มั่นใจว่าแพกเกจต่าง ๆจะได้รับการอัพเดทอย่างรวดเร็วทันที เมื่อต้องซื้อ MA ทุกปี Endian จึงมี ma แบบหลายๆปี ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า
3. ตัว Software UTM มีค่า MA เท่าๆกันทุกปี การต่อ MA โดย renew ราคาขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้งาน เหมือนกับ UTM เช่นกัน

เมื่อถึงตรงนี้ก็พอจะมองภาพออกแล้วใช่ไหมครับว่า องค์กรของเราควรจะเลือก EFW แบบไหน ของในโลกนี้มีได้ก็ต้องมีเสียครับเหมือนเหรียญสองด้าน ตัวหนึ่งฟรี แต่ไม่ค่อยเสถรียร อีกตัวหนึ่งเสถียรแต่ต้องเสียเงิน แต่ก็พอจะหาจุดลงตัวได้ไม่ยากเย็นนักครับ ใช้ตัว EFW Community บนเครื่อง Server คุณภาพเจ๋ง ๆ และ setup ค่าต่าง ๆ อย่างพอดี ใช้งานเฉพาะด้าน ไม่ใช้เซอร์วิสมากเกินไป ก็ถือว่าเป็น UTM Solution ที่มีความเสถียรเหมาะกับบริษัทที่ใช้งาน 50 - 100 user ได้ดีเช่นกัน....

สร้างหัวข้อการประชุมอย่างรวดเร็วจากเมล์ ด้วย Zimbra Mailserver 7

สร้างหัวข้อการประชุมอย่างรวดเร็วจากเมล์ ด้วย Zimbra Mailserver 7

 
คุณผู้อ่าน..ท่านที่เคารพ ของไอทีทริปเปิลพลัสทุกท่่านครับ

ใน Zimbra Mail (ZCS) มีการนัดหมายประชุมโดยใช้ เมล์ใดเมล์หนึ่งเป็นหัวข้อการประชุมนั้น ทำได้ง่ายมากเพียงคลิกขวาที่เมล์แล้วเลือก Create Appointment จากเมนู ซึ่งจะนำไปสู่หน้ต่าง การนัดหมายประชุมเพื่อกรอกข้อมูลเพิ่มเติมลงไป


Zimbra Server 7 ได้ปรับโฉมหน้าจอนัดหมายประชุมเสียใหม่ โชว์สถานะของวันเวลาของผู้ที่จะนัดเข้าร่วมประชุมว่างหรือไม่ ที่หัวข้อ Scheduler โดยจะแสดงสีบ่งถึงสถานะ Free, Busy, Tentative, Unknow, Out of Office ทำให้ผู้นัดประชุมวันเวลาว่างของผู้ร่วมประชุมได้ทุกคน


เราจะลบข้อความในเมล์เดิมทิ้งไป และเขียนคำเชื้อเชิญประชุมใหม่ หรือจะปล่อยไว้เป็นตัวอ้างอิงในการประชุมก็ดีครับ เช่น เมล์ของลูกค้า spec ที่ลูกต้องการเป็นต้น เมื่อเลือกผู้ร่วมประชุมได้แล้วจะคลิก Sent เลยทันทีก็ได้ ฝั่งผู้รับจะได้รับจดหมายใน Inbox เป็นการเชื้อเชิญให้เข้าประชุม ซึ่งจะยอมรับการนัดหมายประชุมหรือปฏิเสธก็ได้ วันเวลาในปฏิทินที่ผู้ส่งได้ส่งเออกไปนั้น จะปรากฏเป็นตารางงานในปฏิทินของผู้ร่วมประชุมอันตโนมัติ ทำให้ทราบวันเวลาที่เป็นกระประชุมได้อย่างดี ปราศจากข้อสังสัย

Setup DNS ให้เรียบร้อยก่อนติดตั้ง Zimbra Server สำหรับ Ubuntu

Setup DNS ให้เรียบร้อยก่อนติดตั้ง Zimbra Server สำหรับ Ubuntu


1. ต้องกำหนด / setup DNS Server สำหรับ Linux ให้เรียบร้อยก่อน มิฉะนั้นในขั้นตอน install ZCS ที่กำหนดชื่อ mail จะมีปัญหาเสียเวลาเปล่า ๆ อีกอย่างหนึ่ง การส่งรับเมล์จะต้องมี MX เรคคอร์ดเป็นตัวบ่งชี้ ก็ MX จะมีที่ไหนหล่ะถ้าไม่ใช่ DNS

2. ติดตั้ง BIND Package ให้เรียบร้อยเสียก่อน
---
---
3. ย้ายไปยังไดเรกทอรี /etc/bind เพิ่ม zone เข้าไปในไฟล์ named.conf ดังนี้ (สีแดงคือที่เพิ่มเข้าไป)

// This is the primary configuration file for the BIND DNS server named.
//
// Please read /usr/share/doc/bind9/README.Debian.gz for information on the
// structure of BIND configuration files in Debian, *BEFORE* you customize
// this configuration file.
//
// If you are just adding zones, please do that in /etc/bind/named.conf.local

include "/etc/bind/named.conf.options";

// prime the server with knowledge of the root servers
zone "." {
type hint;
file "/etc/bind/db.root";
};

// be authoritative for the localhost forward and reverse zones, and for
// broadcast zones as per RFC 1912

zone "localhost" {
type master;
file "/etc/bind/db.local";
};

zone "127.in-addr.arpa" {
type master;
file "/etc/bind/db.127";
};

zone "0.in-addr.arpa" {
type master;
file "/etc/bind/db.0";
};

zone "255.in-addr.arpa" {
type master;
file "/etc/bind/db.255";
};

include "/etc/bind/named.conf.local";

4. เพิ่มค่า Local Zone สำหรับทำเป็นชื่อ Mail ของเรา
สำหรับใช้ในองค์กรไม่เชื่อมต่อกับข้างนอก ก็อาจจะต้องชือเป็น it3plus.local

//
// Local for IT3Plus.com
// Network 192.168.1.0
//

// Consider adding the 1918 zones here, if they are not used in your
// organization
//include "/etc/bind/zones.rfc1918";
zone "it3plus.com" {
type master;
file "/etc/bind/db.it3plus";
};
zone "163.168.1.in-addr.arpa" {
type master;
notify no;
file "/etc/bind/db.192";
};

5. แก้ไขไฟล์ โดยการพิมพ์ไฟล์ขึ้นมาใหม่ตั้งชื่อตามค่า file "/etc/bind/db.it3plus"

file db.it3plus

;
; BIND data file for local loopback interface
;
$TTL 604800
@ IN SOA ns.it3plus.com. root.it3plus.com. (
2 ; Serial
604800 ; Refresh
86400 ; Retry
2419200 ; Expire
604800 ) ; Negative Cache TTL

@ IN MX 10 mail.it3plus.com.
;
@ IN NS ns.it3plus.com.
@ IN A 192.168.1.9
ns IN A 192.168.1.9
mail IN A 192.168.1.9

file "/etc/bind/db.192"
File: db.192


;
; BIND reverse data file for local loopback interface
;
$TTL 604800
@ IN SOA ns.it3plus.com. root.it3plus.com. (
1 ; Serial
604800 ; Refresh
86400 ; Retry
2419200 ; Expire
604800 ) ; Negative Cache TTL
;
@ IN NS ns.
;
9 IN PTR ns.it3plus.com.
9 IN PTR mail.it3plus.com.

6. สุดท้ายไฟล์ที่แก้ไขคือ named.local.options

options {
directory "/var/cache/bind";
forwarders {
192.168.1.1;
8.8.8.8;
};
auth-nxdomain no; # conform to RFC1035
listen-on-v6 { any; };
};

192.168.1.1 คือ Gateway ของ network
8.8.8.8 คือ DNS ตัวที่สอง Google ใส่ค่า DNS อันอื่นก็ได้

7. แก้ไขไฟล์ที่เกี่ยวกับกระบวนการ resolve dns ใน ubuntu ต่าง ๆ ตามนี้

/etc/resolv.conf

nameserver 192.168.1.9
search it3plus.com

/etc/hosts

127.0.0.1 localhost.localdomain localhost
192.168.1.9 mail.it3plus.com mail
192.168.1.9 zcsit3.it3plus.com zcsit3

8. Restart DNS ไม่ควรมี ERROR ถ้ามีก็แก้ซะก่อน แก้ตรงไหนก็ไปดูให้ดีว่า error เกิดจากตรงไหน

ทดสอบก่อน เพื่อขั้นตอนติดตั้ง ZCS จะได้ไม่มีปัญหา

nslookup mail.it3plus.com

ควรจะแสดงผลดังนี้

Server: 192.168.1.9
Address: 192.168.1.9#53

Name: mail.it3plus.com
Address: 192.168.1.9

9. เริ่มขั้นตอนติดตั้ง ZCS ได้เลย ณ บัดนี้.... ./install.sh

เป็นไปตามคำกล่าวของนักปรัชญาท่านหนึ่งว่า "สิ่งใดที่ทำสำเร็จแล้ว ควรบันทึก เมื่อมาทำสิ่งเดียวกันนั้นอีกไม่ควรเริ่มต้นใหม่ สิ่งที่ควรจะทำคือต่อยอดความคิดนั้นไห้ได้"

เอวัง.....

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More